วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แผนภูมิ

แผนภูมิ

แผนภูมิ  เป็นทัศน์วัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆ   โดยอาศัยเส้น ของตัวอักษร และภาพลายเส้น หรือภาพโครงร่าง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในเรื่องราวและแผนภูมิแต่ละชนิดมีรูปแบบ และโครงสร้างที่แตกต่างกัน และมีประโยชน์ต่อการใช้สอยแตกต่างกัน
ประเภทของแผนภูมิ  มีดังนี้



1. แผนภูมิคอลัมน์ 


แผนภูมิคอลัมน์จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตลอดช่วงเวลาหนึ่ง หรือแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ แผนภูมิคอลัมน์จะมีแผนภูมิย่อยชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้




แผนภูมิคอลัมน์แบบเป็นกลุ่ม     แผนภูมิชนิดนี้จะทำหน้าที่เปรียบเทียบค่าที่อยู่ในหมวดหมู่ต่าง ๆ และยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน 3 มิติ เช่นที่แสดงในแผนภูมิต่อไปนี้ หมวดหมู่ต่าง ๆ จะถูกจัดเรียงตามแนวนอน และค่าจะอยู่ในแนวตั้ง เพื่อเน้นถึงความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา
   - 
หนึ่ง ๆ

แผนภูมิคอลัมน์แบบเป็นกลุ่ม
   - 
แผนภูมิคอลัมน์ 3 มิติ     แผนภูมิชนิดจะทำหน้าที่เปรียบเทียบ จุดของข้อมูลตามแกนสองแกน ตัวอย่างเช่น ในแผนภูมิแบบ 3 มิติต่อไปนี้ คุณจะสามารถเปรียบเทียบยอดขายในสี่ไตรมาสของยุโรป กับยอดขายของอีกสองแผนก





แผนภูมิคอลัมน์ 3 มิติ

2.แผนภูมิแท่ง
แผนภูมิแท่งจะทำหน้าที่เปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ในหลาย ๆ ค่า แผนภูมิแท่งมีแผนภูมิย่อยในชนิดต่าง ๆ 
มีดังต่อไปนี้
      - แผนภูมิแท่งแบบเป็นกลุ่ม     แผนภูมิชนิดนี้จะเปรียบเทียบค่าในข้อมูลทั้งหมดที่มี ผู้ใช้สามารถใช้ร่วมกับแผนภูมิรูปลักษณะพิเศษเสมือน 3 มิติ ในแผนภูมิต่อไปนี้ ข้อมูลจะถูกจัดเรียงตามแนวตั้ง และค่าจะอยู่ในแนวนอน เพื่อเน้นหนักที่การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ


แผนภูมิแท่งแบบเป็นกลุ่ม

      - แผนภูมิแท่งแบบกองซ้อน      แผนภูมิชนิดนี้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลหนึ่งกับข้อมูลทั้งหมด       และสามารถนำมาใช้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน 3 มิติ 


แผนภูมิแท่งแบบกองซ้อน

3. แผนภูมิเส้น
แผนภูมิเส้นจะแสดงแนวโน้มของข้อมูล ณ ช่วงเวลาที่เท่า ๆ กัน

 แผนภูมิเส้น     แผนภูมิชนิดนี้จะแสดงแนวโน้มสำหรับช่วงเวลาหนึ่งหรือของข้อมูลชุดหนึ่ง ผู้ใช้สามารถใช้แผนภูมินี้ร่วมกับมาร์กเกอร์ที่แสดงผลที่ค่าของข้อมูลแต่ละค่า






แผนภูมิเส้น

4. แผนภูมิวงกลม
       แผนภูมิวงกลมจะแสดงขนาดของข้อมูลที่สร้างขึ้นเป็น ชุดของข้อมูล โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามผลรวมของข้อมูล แผนภูมินี้จะแสดงเฉพาะชุดข้อมูลชุดหนึ่ง และถือว่ามีประโยชน์มากเมื่อคุณต้องการเน้นที่องค์ประกอบเด่น ๆ ที่อยู่ในข้อมูล แผนภูมิวงกลมมีแผนภูมิย่อยดังต่อไปนี้

แผนภูมิวงกลม



 - แผนภูมิวงกลมแบบแยกตัว     แผนภูมิชนิดนี้จะแสดงการกระจายของค่าแต่ละค่าต่อผลรวม พร้อม ๆ กับเน้นที่ค่าใดค่าหนึ่ง ผู้ใช้สามารถใช้แผนภูมินี้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน 3 มิติ

แผนภูมิวงกลมแบบแยกตัว

5. แผนภูมิแบบอธิบายภาพ  (Illustrative Charts)
       ใช้แสดงส่วนต่างๆ ของภาพหรือบอกรายละเอียดของภาพ เช่น อวัยวะต่างๆ ของคน ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ เป็นต้น  ตัวอย่าง แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของพืชใบเลี้ยงคู่

ตัวอย่าง แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของพืชใบเลี้ยงคู่

6. แผนภูมิแบบต้นไม้(Tree Charts) 
ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเหมือนกับการแตกแขนงของกิ่งก้านของต้นไม้ โดยยึดหลักการแตกของกิ่งก้านเป็นหลัก หรือแนวเส้นของแผนภูมิ โดยจะแสดงให้เห็นว่า สิ่งหนึ่งสามารถจำแนกออกเป็นส่วนย่อยได้อีกหลายส่วน เปรียบเสมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งออกไป เช่น การคมนาคมมี 3 ทางคือทางบก ทางน้ำ ทางอากาศเป็นต้น

แผนภูมิแสดงการคมนาคมแบ่งออกเป็น 3 ทาง คือ  ทางอากาศ ทางน้ำและ ทางบก

ตัวอย่างแผนภูมิแบบต้นไม้

7. แผนภูมิแบบสายธารา( Stream Charts)
ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเปรียบเหมือนกับการรวมตัวของลำธารน้ำกลายเป็นลำคลอง และแม่น้ำที่กว้างใหญ่ขึ้น โดยจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งเกิดจากหลายสิ่งรวมกัน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น คอมพิวเตอร์เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ชิพ เมนบอร์ด จอภาพ ขนมปังเกิดจาก แป้ง ยีสต์ น้ำตาล เป็นต้น

แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของขนมปังเกิดจากแป้ง ไข่ไก่ ยีสต์ และน้ำตาล
ตัวอย่างแผนภูมิแบบสายธาร




8. แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
( Comparison Charts)
เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของสองสิ่งทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิด ของสิ่งต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบการแต่งกายในสมัยต่างๆ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่   เป็นต้น

แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ

ความแตกต่างระหว่างอเมริกันฟุตบอลกับรักบี้


 ตัวอย่างแผนภูมิแบบเปรียบเทียบ

9. แผนภูมิแบบองค์การ  ( Organization Charts)
      เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของสายงานในหน่วยงานหรือองค์การ นิยมใช้เส้นโยงความสัมพันธ์ ของหน่วยงานย่อย ที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงและใช้เส้นประ หรือเส้นจุดไข่ปลา แสดง ความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยที่ เกี่ยวข้องกันโดยอ้อม เช่น แผนภูมิแสดงสายงานการบริหารโรงเรียน เป็นต้น
ตัวอย่างแผนภูมิแบบองค์การ

10. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง( Flow Charts)
      ใช้แสดงเรื่องราว กิจกรรม การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับต่อเนื่อง ตลอดจนการแสดง วงจรชีวิตที่เป็นลำดับต่อเนื่อง เช่น วงจรชีวิตของผีเสื้อ
 ตัวอย่างแผนภูมิแสดงวงจรชีวิตของผีเสื้อ

11. แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ  ( Developmental Charts)
แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ แต่ไม่ย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีก

 ตัวอย่างแผนภูมิแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพ
ตัวอย่างแผนภูมิแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพ




12. แผนภูมิแบบขยายส่วน  ( Enlarging Chartsz)

     เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงให้เห็นลายละเอียดของส่วนเล็กๆ   ขยายให้ใหญ่ขึ้นเน้นส่วนที่ต้องการ ให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยขยายเฉพาะบางส่วน เท่านั้น
ตัวอย่างแผนภูมิแบบขยายส่วน